การแปลในภาษาไทย
เริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยประเทศฝรั่งเศส
มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายต่างชาติในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก ทำให้มีกาติดต่อและเดินทางถึงกันได้สะดวกรวดเร็ว
การแปลจะช่วยลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ
ทำให้สันติภาพในโลก มีการท่องเที่ยวที่นำเงินรายได้ให้กับประเทศ
ทำให้การแปลภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การแปลจะต้องมีความรู้ด้านภาษาแล้วยังต้องเข้าใจวัฒนธรรม
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วยเพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
เป็นการสอนไวยากรณ์และโคร้างสร้างของภาษา
การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อนความเข้าใจ
ผู้ที่จะแปลได้ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดี
การแปลคืออะไร
การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการไม่มีการตัดต่อ
ควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับเดิมอีกด้วยถ้าหากทำได้
ความหมายของการแปล
1การแปลเป็นกระบวนการที่กระทำต่อภาษา
2การแปลเป็นทักษะพิเศษเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
3ผู้แปลจะต้องถ่ายทอดความคิดจากต้นฉบับออกมาเป็นภาษีต้องการได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
คุณสมบัติผู้แปล
1
เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2 สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ
3
เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา
มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
4
เป็นผู้ที่เรียนภาษาและวรรณคดีหรือภาษาศาสตร์
5 ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้ รักเรียน รักอ่าน
และรักการค้นคว้าวิจัย
6
ผู้แปลต้องมีความอดทน
และเสียสละ
จุดมุ่งหมายของผู้แปล
1 รู้ซึ่งในเรื่องภาษา
มีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอย่างดี
2
รักการอ่าน
การค้นคว้า
3 มีความอดทน มีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
4 มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้ความคิดของตนเอง
นักแปลที่มีคุณภาพ คือนักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วน
นักแปลจะต้องมีความรู้ภาษาของต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปล
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1
ฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2 การสอนแปลให้ได้ผล
3
ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขว้าง
4
ผู้เรียนแปลได้และพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพ
สรุป
การแปลที่ดีต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
หลักสำคัญในการแปล
1
ผู้แปลจะต้องเข้าใจเนื้อหาที่จะแปลและความตั้งใจของผู้เขียนต้นฉบับ
2
ผู้แปลจะต้องมีความรู้ภาษาทั้งสองอย่างดี
3 ผู้แปลควรจะเลี่ยงการแปลคำต่อคำ
จะทำให้ความหมายของต้นฉบับผิดไป
4 ผู้แปลควรจะใช้ภาษาปัจจุบันในการแปล
5
ผู้แปลควรจะใช้ระดับของภาษาที่ตรงกันกับต้นฉบับ
การแปลที่ดีจะต้องมีหลัก
3ประการ คือ
1 เป็นการแปลที่ตรงกับต้นฉบับทุกประการ
2 ใช้ภาษาที่ตรงกับต้นฉบับ
และเข้าใจความคิดและพฤติกรรมของผู้เขียนต้นฉบับ
3 ในการแปลต้องเป็นธรรมชาติและดูง่าย
คุณสมบัติของการแปล
1 คุณสมบัติส่วนตัว คือ มีใจรักการแปล รักการอ่าน
มีความสามารถในการอ่าน มีความตั้งใจและมั่นใจสูง มีความละเอียดรอบคอบ
มีจรรยาบรรณของนักแปล มีความรู้ เฉลียวฉลาด
มีจิตใจกว้างขวางและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
2 ความรู้ คือต้องมีความรู้ในภาษาทั้งสองอย่างดี
มีความรู้อย่างกว้างขว้าง รักการหาความรู้และประสบการใหม่ๆ
มีความรู้เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับงานที่แปล ความรู้ภูมิหลังของวัฒนธรรมประเพณีของชาติที่เป็นเจ้าของภาษา
3
ความสามารถคือสามารถตีความภาษาต้นฉบับได้อย่างดี
มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ มีความสามารถในการส่งสาร
มีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการและมีความสามารถในการแบ่งขั้นตอนการแปล
4 ประสบการณ์คือ การฝึกฝนแปลอยู่เสมอ
มีความรู้ในงานหลายสาขา มีความเข้าใจในระบบงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแปล
หาความรู้และเข้ารับการอบรมทางด้านการแปลและรักการอ่านการแปลของคนอื่น
ลักษณะของงานที่ดี
ลักษณะงานแปลที่ดี
คือ ควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับการใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ
ใช้รูปประโยคสั้นๆ ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสมและรักษาแบบหรือสไตน์การเขียนของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้
ลักษณะงานแปลอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1
ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ
ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดยทั่วไป
2
สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับภาษาไทยได้
3
ใช้การแปลแบบตีความ
แปลแบบเก็บเรียบเรียงและเขียนใหม่
ลักษณะของงานแปลที่ดี
จะต้องมีความตรงกันในด้านความของงานต้นฉบับและงานออกแบบและมีความสละสลวยในภาษาที่ใช้แปล
ลักษณะงานแปลที่ดี
1
ความหมายถูกต้องและครบถ้วนตามต้นฉบับ
2 รูปแบบของภาษาที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ
3
สำนวนภาษาที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา
การแปลอังกฤษเป็นไทยต้องคำนึงถึง7 ประการดังนี้
1
อนาคต (The Progressive Present) การแปลที่ต้องเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกาล (Simple Present) และอนาคตกาล (Progressive Present) การกะทำในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับปัจจุบัน (now) การให้ปัจจุบันกาลโดยมีคำว่าalwaysหรือ oftenตัวอย่างเช่น
1
I promise you (now)
2
I am having eye trouble these days.(often
, repeatedly)
3
he is learning french (every day)
4
How do you like Hyderabad! ( a
verb signifying a state of mind
2
โครงสร้างประโยค
อื่นๆ ในการแปลแบบของกาลในภาษาอังกฤษ รวมทั้งโครงสร้างของไวยากรณ์
มีบางอย่างที่ยากเช่น การใช้กริยาวิเศษณ์ และคุณศัพท์ในประโยคปฎิเสธ
จะแปลได้ในระดับประโยคไม่แปลระดับคำและแปลตามความหมายของคำศัพท์
3
ศัพท์เฉพาะ (Lexis) การแปลความหมายตามศัพท์จะดูง่าย
4
ตีความทำนาย
คือการแปลข้ามภาษาจะต้องคำนึงถึงความหมายโดยทั่วไป
มากกว่าการใช้คำเหมือนหรือให้ความหมายเหมือนกับรูปประโยคที่ต่างกันในภาษาเดียวกัน
การวิเคราะห์ความหมาย
องค์ประกอบของความหมาย
1 คำศัพท์ คือคำที่ตกลงยอมรับกันของผู้ใช้ภาษาซึ่งจะมีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อความหมาย
2
ไวยากรณ์
คือแบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา เพื่อใช้เป็นประโยคที่มีความหมาย
3 เสียง หากนำเสียงพยัญชนะ
มารวมกันเข้าอย่างมีระบบระเบียบ จะทำให้เกิดเป็นหน่วยที่มีความหมาย
ความหมายและรูปแบบ
1 ในแต่ละภาษา
ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
เช่นในรูปประโยคที่ต่างกันหรือใช้คำที่ต่างกัน
1 The boy bit the boy.
The boy was
bitten by the dog.
2
รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย
ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป เช่น
Lincoln
tunnel is under water.
มี 2 ความหมาย คือ
1
Lincoln tunnel is flooded.
2
Lincoln tunnel is built under the water.
ประเภทของความหมาย
1 ความหมายอ้างอิง (referential meaning) คือความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
2 ความหมายแปล (Connotative meaning) คือความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้ฟัง ผู้อ่าน
อาจจะมีความหมายในทางบวกหรือทางลบก็ได้ขี้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3 ความหมายตามปริบท
ต้องพิจารณาจากปริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด
จึงจะรู้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ
4 ความหมายเชิงอุปมา (Figurative meaning) เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผย
โดยแบ่งองค์ประกอบของการเปรียบเทียบ ออกเป็น 3ส่วน คือ สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ (topic) สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ (illustration) ประเด็นของการเปรียบเทียบ (point of similarity)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น