Dancing Rah Rah Smiley

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบรูณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้และเข้าใจโครงสร้างของภาษา โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกเราว่า เราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย
1 ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ Parts of speech เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร
ประเภททางไวยากรณ์ grammatical category ลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง จะสัมพันธ์กับชนิดของคำ
1.1คำนาม

1.1.1บุรุษ (person) คือคำสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด (บุรุษที่ 1) ผู้ที่ถูกพูด (บุรุษที่ 2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง (บุราที่3)
1.1.2พจน์ (number) จะบอกถึงจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่ง ในภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ตัวกำหนด (determiner) ที่ต่างกัน เช่น a/an นำหน้าคำนามเอกพจน์ และเติม –sคำนามพหูพจน์ แต่ในภาษาไทยจะไม่มีการบ่งชี้
1.1.3การก (case) คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร ในภาษาอังกฤษ การกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ เช่นถ้าพูดว่า The dog bit the boy. จะต่างกับพูดว่า The boy bit the dog. ประโยคแรก dog เป็นประธาน แต่ประโยคหลัง dog เป็นกรรม 
1.1.4นามนับได้ กับ นามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns) ในภาษาอังกฤษจะมีนามนับได้โดยจะกำหนด a/an กับคำนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม –s ที่นามนับได้พหูพจน์ แต่ในภาษาไทย คำนามทุกคำสามารถนับได้
1.1.5ความชี้เพาะ (definiteness) คือการแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ แต่ในภาษาไทยจะไม่มี ดังนั้นเวลาคนไทยแปลไทยเป็นภาษาอังกฤษจึงต้องระวังเรื่องนี้
1.2 คำกริยา
                1.2.1กาล Tense คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอ ว่าเป็นอดีตหรือปัจจุบัน ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยไม่มีกาลได้เพราะโลกทัศน์ของพวกเขาแยกความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบัน
                1.2.2 การณ์ลักษณะ (aspect) คือลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์ การดำเนินอยู่ของเหตุการณ์ การเสร็จสิ้นของการกระทำ การเกิดซ้ำของเหตุการณ์ ในภาษาไทยเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องหรือกำลังดำเนินอยู่แสดงด้วยคำว่า กำลัง หรือ อยู่
                1.2.3 มาลา (mood) คือประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการแสดงมาลา มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า modal auxiliaries ในภาษาไทย มาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือวิเศษณ์ไม่ได้เปลี่ยนรูปกริยา
                1.2.4 วาจา (voice) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำหรือเป็นผู้ถูกกระทำ ในการแปลระหว่างภาษาอังกฤษกับไทย ประโยคกรรมในภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องเท่ากับประโยคกรรมในภาษาไทย
                1.2.5กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non- finite) ในหนึ่งประโยคเดี่ยวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ในภาษาไทย ไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้ คือกริยาทุกตัวจะมีเปลี่ยนรูป
1.3 ชนิดของคำประเภทอื่น
คำบุพบท (preposition) ผู้แปลต้องหมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษา เช่น
 We first met at a party. เราพบกันครั้งแรกในงานเลี้ยง
He smiled at me. เขายิ้มให้ฉัน
                คำ adjective  มีการใช้ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค เช่น He is clever. The bag is heavy. ในภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้เพราะใช้กริยาทั้งหมด เช่น เขาฉลาด ถุงหนัก adjective ที่เรียงกันหลายคำเพื่อขยายคำนามเป็นหลัก เมื่อแปลเป็นไทยอาจมีปัญหา เพราะในภาษาไทยคำขยายอยู่หลังคำหลัก ตรงข้ามกับในภาษาอังกฤษ ทำให้เรียงคำขยายแบบภาษาอังกฤษไม่ได้  เช่น  The intelligent young college student .ไม่สามารถแปลแบบตรงๆได้ว่า “นักศึกษามหาวิทยาลัยเยาว์วัยเฉลียวฉลาด” เราต้องเปลี่ยนโครงสร้างเป็นคุณานุประโยค คือ “นักศึกษามหาวิทยาลัยที่เยาว์วัยและเฉลียวฉลาด
2 หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                หน่วยสร้าง (construction) คือหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เช่น หน่วยสร้างนามวลี (noun phrass construction) หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive construction) หน่วยสร้างคุณานุประโยค (relative clause construction)  เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พบว่ามีหน่วยสร้างที่แตกต่างกัน
                2.1 หน่วยสร้างนามวลี ตัวกำหนด (Determiner) + นาม (อังกฤษ) vs. นาม (ไทย)
นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนด (Determiner) อยู่หน้านามเสมอ ถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์ ตัวกำหนดจะนำหน้านามเพื่อบ่งบอกความชี้เฉพาะของคำนาม ในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนด แบบ a, an, the ในภาษาอังกฤษ มีแต่คำบ่งชี้ เช่น นี้ นั้น โน้น นู้น ซึ่งบ่งบอกความหมายใกล้ไกล และเฉพาะเจาะจง
                2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)
ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นขัด และมีแบบเดียว คือ ประธาน หรือผู้รับ การกระทำ + กริยา verb to be + past participle + (by + นามวลี หรือ ผู้กระทำ) กริยาเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก จะมีรูปตรงกันข้ามในภาษาไทยและอังกฤษ คือภาษาไทยจะเป็นกรรตุวาจก แต่ในภาษาอังกฤษจะเป็นกรรมวาจก
                2.4หน่วยสร้างประโยคเน้น subject กับประโยคเน้น topic
ภาษาไทยเป็นภาษาเน้น (topic oriented language) ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาเน้น(subject – oriented language )
                2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction)
หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปลได้แก่ หน่วยสร้างกริยาเรียง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า

สรุป
ในการแปลระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษนั้น ลักษณะทางโครงสร้างที่แตกต่างกันและผู้แปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ
3.1เรื่องชนิดของคำ ภาษาอังกฤษมีตัวกำหนด (determiner) นาม (noun) กริยา (verb) คุณศัพท์ (adjective) วิเศษณ์ (adverb) บุพบท (preposition) และ สันธาน (conjunction) ไม่มี ลักษณะนาม (classifier) และคำลงท้าย (final particle)
3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์ สำหรับคำนามภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ บุรุษพจน์   นับได้-นับไม่ได้ ชี้เฉพาะ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน สำหรับคำกริยา ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้ กาลมาลา วาจก กริยาแท้-ไม่แท้ แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน
3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปแบบประโยค
นามวลี ในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับแต่ในภาษาไทยมีตัวกำหนดจะมีหรือไม่มีก็ได้
การวางส่วนขยายในนามวลี มีความแตกต่างอย่างตรงกันข้ามระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้างกรรมวาจก มีรูปแบบที่ชัดเจน แต่ในภาษาไทยมีหลายรูปแบบไม่จำเป็นต้องแปลหน่วยสร้างคำวาจกภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจกภาษาไทยตลอดไป
ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง ประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ แต่ประโยคในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธานและประโยคส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยเรื่อง
หน่วยสร้างกริยาเรื่อง มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ
ข้อสรุป หากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังแสดงมาข้างตัน ผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลงและผลงานที่แปลจะใกล้เคียงกับลักษณะภาษาแม่ในภาษาเป้าหมายมากที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น