ครูที่ดีในยุคอาเซียน
เมื่อสังคมโลกได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
ครูในศตวรรษที่ 21 จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนรู้ให้เท่าทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ไปด้วย ทั้งนี้ต้องพัฒนาทักษะด้านต่างๆ
อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในวงการศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้สามารถชี้แนะและส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา
นอกจากนี้ ครูไทยในอนาคตยังต้องมีความรู้จริงในเรื่องที่สอน
และต้องมีเทคนิควิธีการให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์
รวมทั้งจัดกิจกรรมเชื่อมโยงความรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอก
ฝึกให้นักเรียนทำงานเป็นทีม เป็นนักออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
และแสดงออกซึ่งความรักและความห่วงใยต่อนักเรียน
ทั้งนี้กระบวนการเรียนการสอนดังกล่าวจะสัมฤทธิ์ผลได้ ถ้าทุกภาคส่วนช่วยกัน
หาทางลดปัญหาและอุปสรรคที่ขัดขวางการพัฒนาครู
ซึ่งแนวทางและความเป็นไปได้ในการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 นั้น
ต้องดำเนินการทั้งด้านนโยบายและด้านการพัฒนาตนเองของครูควบคู่กันไป
จึงจะทำให้ครูเป็นครูยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง
โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
สังคมแห่งการเรียนรู้ไม่มีวันหยุดนิ่ง สังคมโลกกลายเป็นสังคมความรู้ (Knowledge
Society) หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning
Society) องค์กรทางการศึกษา
จึงต้องปรับตัวให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยพึงตระหนักว่าคุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพครูเป็นหลักในยุคศตวรรษที่
21 กระบวนการเรียนการสอนมีการเปลี่ยนแปลง โดยผู้เรียนจะเรียนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย
และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่สืบเนื่องมาจากจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นต่อห้องเรียน จนทำให้วิธีการสอนแบบเดิมๆ
ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ สื่อที่แสดงมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอสำหรับ ผู้เรียนที่อยู่หลังห้อง
ความจดจ่อกับผู้สอนถูกเบี่ยงเบนจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนขนาดใหญ่
ผู้เรียนมีการนำเอาคอมพิวเตอร์พกพาเข้ามาสืบค้นความรู้ในชั้นเรียน
และถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ครูกำลังสอน หรือนำข้อมูลเหล่านั้นมาพูดคุย
โดยที่ครูตอบไม่ได้ หรือไม่เคยรู้มาก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้
ครูจึงต้องพร้อมที่จะปรับตัวและพัฒนาตนเองให้เท่าทันเทคโนโลยีอยู่เสมอ
และต้องมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาทักษะและวิทยาการให้ทันสมัย
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เทคนิควิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ
ทำให้ได้เด็กมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สังคมไทยและสังคมโลกต้องการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(Information and Communications Technology :ICT) มาใช้
ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและพัฒนาครูได้อย่างรวดเร็ว
รวมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครู
ตลอดจนลดความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาในโรงเรียนที่ห่างไกลอีกด้วย
เมื่อสังคมโลกเปลี่ยนไป
ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนเพียงแห่งเดียว
แต่สามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกที่เป็นสังคมรอบตัว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเตอร์เน็ต บทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21 จึงต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
โดยครูต้องช่วยแก้ไข และชี้แนะความรู้ทั้งถูก ผิด ที่ผู้เรียนได้รับจากสื่อภายนอก
รวมทั้งสอนให้รู้จักการคิดวิเคราะห์ กลั่นกรองความรู้อย่างมีวิจารณญาณ ก่อนนำข้อมูลมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมนอกจากนี้ครูยังต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนและต้องพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 ของตนเอง ดังที่ รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ได้เสนอทักษะที่จำเป็นสำหรับครูไทยในอนาคต
(C-Teacher) ไว้อย่างน่าสนใจ 8
ประการคือ
1. Content ครูต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องที่สอนเป็นอย่างดี
หากไม่รู้จริงในเรื่องที่สอนแล้ว
ก็ยากที่นักเรียนจะมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ
2. Computer (ICT) Integration ครูต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน
เนื่องจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้กับนักเรียน
และหากออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
จะช่วยส่งเสริมความรู้และทักษะที่ต้องการได้เป็นอย่างดี
3. Constructionist ครูผู้สอนต้องเข้าใจแนวคิดที่ว่า
ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง
โดยเชื่อมโยงความรู้เดิมที่มีอยู่ภายในเข้ากับการได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
ดังนั้นครูจึงควรนำแนวคิดนี้ไปพัฒนาวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ที่คงทนและเกิดทักษะที่ต้องการ
4. Connectivity ครูต้องสามารถจัดกิจกรรมให้เชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
ผู้เรียนกับครู ครูภายในสถานศึกษาเดียวกันหรือต่างสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษา
และสถานศึกษากับชุมชน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์
ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติอันจะก่อให้เกิดประสบการณ์ตรงกับนักเรียน
5. Collaboration ครูมีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างนักเรียนกับครู
และนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน เพื่อฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ด้วยตนเอง
และทักษะสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
6. Communication ครูต้องมีทักษะการสื่อสาร
ทั้งการบรรยาย การยกตัวอย่าง การเลือกใช้สื่อ และการนำเสนอ
รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
7. Creativity ครูต้องออกแบบ
สร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้
จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนมากกว่าการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้หน้าห้องเพียงอย่างเดียว
8. Caring ครูต้องมีมุทิตาจิตต่อนักเรียน
ต้องแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใยอย่างจริงใจต่อนักเรียน
เพื่อให้นักเรียนเกิดความเชื่อใจ ส่งผลให้เกิดสภาพการเรียนรู้ตื่นตัวแบบผ่อนคลาย
ซึ่งเป็นสภาพที่นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด
เมื่อหน้าที่และบทบาทของครูผู้สอนได้เปลี่ยนจากการบรรยายหน้าชั้นเรียนเพียงอย่างเดียวมาเป็นการกล่าวนำเข้าสู่บทเรียน
ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้แนะนำ ให้คำปรึกษา และแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียน
จึงเกิดวิธีการสอนที่หลากหลายมากขึ้น [19] มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่าย
(Network) อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้ครูต้องมีการปรับทัศนคติใหม่
พัฒนาความรู้และทักษะความสามารถที่จำเป็นตามแนวทาง C-Teacher ที่ได้กล่าวมาข้างต้น
ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการทำหน้าที่ครู
ประกอบด้วย
1) ภาระงานอื่นนอกเหนือจากการสอน
การทำหน้าที่อื่นนอกเหนือจากการสอน
จะทำให้ครูมีเวลาเตรียมการสอนและมีสมาธิในการสอนน้อยลง
ซึ่งโรงเรียนในประเทศไทยให้ครูผู้สอนปฏิบัติหน้าที่อื่น เช่น พัสดุ บุคคล ธุรการ
ฯลฯ จนทำให้ประสิทธิภาพการสอนลดลง
2) จำนวนครูไม่เพียงพอ สอนไม่ตรงกับวุฒิ
กำหนดตรากำลังที่ไม่เหมาะสม
ใช้อัตราส่วนของจำนวนนักเรียนต่อจำนวนครูเป็นเกณฑ์
โดยไม่คำนึงถึงจำนวนห้องเรียนนั้น ส่งผล กระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพการสอนของครู
3) ขาดทักษะทางด้านไอซีที
โดยครูจำนวนมากยังขาดทักษะด้านนี้ จึงทำให้รับรู้ข้อมูล
หรือมีแหล่งค้นคว้าข้อมูลน้อยกว่านักเรียน
นอกจากนี้สื่อการสอนที่มีแค่หนังสือหรือตำราอาจตอบสนองการรับรู้และความต้องการของนักเรียนในศตวรรษที่
21 ได้ไม่เต็มที่
4) ครูรุ่นใหม่ขาดความเชี่ยวชาญในการสอนทั้งทางวิชาการและคุณลักษณะความเป็นครู ความเอาใจใส่ต่อเด็กลดลง ขาดประสบการณ์
ขณะที่ครูรุ่นเก่าไม่ปรับตัว ให้เข้ากับลักษณะของผู้เรียนที่เปลี่ยนไป
ไม่ปรับวิธีการสอน ไม่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเสริมการจัดการเรียนรู้
ให้มีประสิทธิภาพ
5) ครูสอนหนักส่งผลให้เด็กเรียนมากขึ้น
ผลการทดสอบระดับชาติที่ไม่เป็นที่น่าพอใจ
ทำให้ครูแก้ปัญหาโดยยังคงยึดวิธีการสอนแบบเดิม พยายามสอนเนื้อหาให้มากขึ้น
ใช้เวลาสอนมากขึ้น เพื่อหวังให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น
ทำให้เด็กต้องใช้เวลาเรียนในห้องเรียนมาก ซึ่งจะเห็นได้จากผลการสำรวจของ UNESCO
[23] ที่เด็กไทยใช้เวลาเรียนในห้องเรียนเฉลี่ย
มากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
6) ขาดอิสระในการจัดการ
ครูยังคงต้องปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
ซึ่งนโยบายเหล่านั้นไม่ได้ถูกต้องและดีเสมอไป เช่น การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษ 15 ปี
แต่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ เป็นต้น
ดังนั้น ครูและบุคลากรทางการศึกษาจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะถ่ายทอดความรู้
ความสามารถให้แก่ศิษย์ รวมทั้งพัฒนาศิษย์ให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
โดยเน้นกระบวนการ 4 ด้าน [6] คือ ด้านความรู้
ความคิด หรือพุทธพิสัย (Cognitive
Domain) ด้านความรู้สึก อารมณ์ สังคมหรือด้านจิตพิสัย (Affective
Domain) ด้านทักษะปฏิบัติหรือทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) และด้านทักษะการจัดการหรือทักษะกระบวนการ
(Management Skill)แนวโน้มการศึกษาในระดับนานาชาติได้มุ่งเน้นไปที่ทักษะความสามารถ
ทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น
รวมทั้งทักษะพื้นฐานด้านการทำงาน การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์
การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร และทักษะเฉพาะอาชีพ ซึ่งเป็นทักษะ
ที่องค์การสหประชาชาติ (UN) และองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก)[8]
ให้ความสำคัญ ส่วนในวงการศึกษาไทยมองว่า ครู คือ
กุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา [9]
แต่รายงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ [10] พบว่า
ความเป็นครูในสังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะวิกฤติศรัทธาในวิชาชีพ
ดังนั้นจึงควรต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับครูยุคใหม่อย่างเร่งด่วน
เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาคนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พร้อมขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาประเทศที่มีคุณภาพต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น