Dancing Rah Rah Smiley

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปนอกห้องเรียน (6th October,2015)

ทักษะการเขียน

ในสังคมโลกปัจจุบัน คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลของโลกที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และเข้ามามีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของผู้คนจำนวนไม่น้อย จากอิทธิพลของความก้าวไกลทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร ส่งผลให้ภาษาอังกฤษยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร การศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงการประกอบอาชีพ หลักสูตรการศึกษาระดับขั้นการศึกษาพื้นฐาน ไม่ได้มองข้ามความสำคัญและความจำเป็นของภาษาอังกฤษ มีการกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐานซึ่งนักเรียนทุกคนต้องได้เรียนรู้  เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน เข้าใจความแตกต่างของภาษา การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และสามารถสื่อสารกับชาวชาติได้ รวมทั้งช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนได้ง่ายและกว้างขึ้น ในขณะที่ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เช่น  ภาษาจีน  ภาษาญี่ปุ่น  ภาษาเกาหลี เป็นต้น สถานศึกษาสามารถจัดสอนได้ตามความเหมาะสมโดยให้อยู่ในดุลพินิจ

1. คิดให้ชัดๆว่า ประเด็นหลักหนึ่งประเด็นคืออะไรและมีเหตุผลอะไรชัดๆ 2-3 ประเด็นในการ support ประเด็นหลักการเขียนมิใช่สักแต่เขียน แต่จะต้องพยายามจูงให้คนอ่านเห็นคล้อยตามเรา หาเหตุผลจากแม่น้ำทั้ง 5 มาเพื่อให้ argument ของเรา strong เขียนด้วย passion มิใช่ปากกาลากไป ก็สักแต่เขียนไปอย่างนั้น เราต้องเชื่อมั่นจริงๆ สิ่งที่เราเขียนสิ่งที่เราแสดงออก คนอื่นจึงจะเชื่อเราตามไปด้วย
      2. ก่อนลงมือเขียนให้ Outline ด้วย key words หลักๆ เพื่อใช้เป็น supporting  ideas ให้ think through ในแต่ละประเด็นที่เราเสนอไม่คิดไปเขียนไปเพราะเราจะเป็น run-on sentences คิดให้เร็วคิดให้ทะลุ คิดแล้วเขียนออกมาทุกคนจะต้องเชื่อเรา ถ้าเราไม่เชื่อสิ่งที่เราเขียนใครจะเชื่อเราล่ะ
      3.  ใช้แนวทางการแปลจากไทยเป็นภาษาอังกฤษที่อาจารย์สอนไทยชัด อังกฤษก็ชัด ทุกประโยคความคิดภาษาไทยฟังแล้วต้องเข้าใจทันที ห้ามกำกวมเพื่อโอกาสที่ภาษาอังกฤษจะออกมาชัดตามไปด้วย เวลาเขียนศัพท์และ grammar รวมทั้ง structure ต้อง flow มา automatically ต้องไม่คิดอีกแล้ว แค่ focus on idea presentation ล้วนๆ
      4. การเขียน paragraph  แรกเป็น opening paragraph เป็นการเปิดประเด็น ส่วนอีกสัก 3 paragraphs ต่อมาจะลงในเรื่องรายละเอียดที่ support thesis statement ปิดท้ายด้วย conclusion ซึ่งไม่ควรเป็นการ repeat idea ใน opening paragraph แต่เป็นการสรุปโดยใช้  key words represent idea หลักๆ ของแต่ละ paragraph และอาจจะ insert อีกสักประโยคเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของ argument เรา 
      5. การเขียนให้ระวังเรื่อง tense เป็นสำคัญ รูปประโยคให้ keep simple and clear เข้าไว้ เขียนแบบพังผืดไม่เอา คนที่เก่งจริง พูด 3-4 ประโยคก็เข้าประเด็นและน่าเชื่อถือแล้ว แต่ต้องเป็นเนื้อๆจริงๆ มิใช่น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
การฝึกทักษะการเขียน มี 3 แนวทาง คือ
            1.1 การเขียนแบบควบคุม ( Controlled Writing ) เป็นแบบฝึกการเขียนที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนรูปทางไวยากรณ์ คำศัพท์ในประโยค โดยครูจะเป็นผู้กำหนดส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้ผู้เรียน ผู้เรียนจะถูกจำกัดในด้านความคิดอิสระ สร้างสรรค์ ข้อดีของการเขียนแบบควบคุมนี้ คือ การป้องกันมิให้ผู้เรียนเขียนผิดตั้งแต่เริ่มต้น กิจกรรมที่นำมาใช้ในการฝึกเขียน เช่น
- Copying เป็นการฝึกเขียนโดยการคัดลอกคำ ประโยค หรือ ข้อความที่กำหนดให้ ในขณะที่เขียนคัดลอก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้การสะกดคำ การประกอบคำเข้าเป็นรูปประโยค และอาจเป็นการฝึกอ่านในใจไปพร้อมกัน
   - Gap Filing เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ มาเขียนเติมลงในช่องว่างของประโยค ผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้คำชนิดต่างๆ ( Part of Speech ) ทั้งด้านความหมาย และด้านไวยากรณ์
     - Re-ordering Words เป็นการฝึกเขียนโดยเรียบเรียงคำที่กำหนดให้ เป็นประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำในประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และเรียนรู้ความหมายของประโยคไปพร้อมกัน
     - Changing forms of Certain words เป็นการฝึกเขียนโดยเปลี่ยนแปลงคำที่กำหนดให้ในประโยค ให้เป็นรูปพจน์ หรือรูปกาล ต่างๆ หรือ รูปประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ ฯลฯ ผู้เรียนได้ฝึกการเปลี่ยนรูปแบบของคำได้อย่างสอดคล้องกับชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
      - Substitution Tables เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ในตาราง มาเขียนเป็นประโยคตามโครงสร้างที่กำหนด ผู้เรียนได้ฝึกการเลือกใช้คำที่หลากหลายในโครงสร้างประโยคเดียวกัน และได้ฝึกทำความเข้าใจในความหมายของคำ หรือประโยคด้วย
            1.2 การเขียนแบบกึ่งควบคุม ( Less – Controlled Writing ) เป็นแบบฝึกเขียนที่มีการควบคุมน้อยลง และผู้เรียนมีอิสระในการเขียนมากขึ้น การฝึกการเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเค้าโครงหรือรูปแบบ แล้วให้ผู้เรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่การเขียนอย่างอิสระได้ในโอกาสต่อไป กิจกรรมฝึกการเขียนแบบกึ่งอิสระ เช่น
- Sentence Combining เป็นการฝึกเขียนโดยเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน ด้วยคำขยาย หรือ คำเชื่อมประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรียบเรียงประโยคโดยใช้คำขยาย หรือคำเชื่อมประโยค ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
  - Describing People เป็นการฝึกการเขียนบรรยาย คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ โดยใช้คำคุณศัพท์แสดงคุณลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้ ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำคุณศัพท์ขยายคำนามได้อย่างสอดคล้อง และตรงตามตำแหน่งที่ควรจะเป็น
- Questions and Answers Composition เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราว ภายหลังจากการฝึกถามตอบปากเปล่าแล้ว โดยอาจให้จับคู่แล้วสลับกันถามตอบปากเปล่าเกี่ยวกับเรื่องราวที่กำหนดให้ แต่ละคนจดบันทึกคำตอบของตนเองไว้ หลังจากนั้น จึงให้เขียนเรียบเรียงเป็นเรื่องราว 1 ย่อหน้า ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรื่องราวต่อเนื่องกัน โดยมีคำถามเป็นสื่อนำความคิด หรือเป็นสื่อในการค้นหาคำตอบ ผู้เรียนจะได้มีข้อมูลเป็นรายข้อที่สามารถนำมาเรียบเรียงต่อเนื่องกันไปได้อย่างน้อย 1 เรื่อง
   - Parallel Writing เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราวเทียบเคียงกับเรื่องที่อ่าน โดยเขียนจากข้อมูล หรือ ประเด็นสำคัญที่กำหนดให้ ซึ่งมีลักษณะเทียบเคียงกับความหมายและโครงสร้างประโยค ของเรื่องที่อ่าน เมื่อผู้เรียนได้อ่านเรื่องและศึกษารูปแบบการเขียนเรียบเรียงเรื่องนั้นแล้ว ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลหรือประเด็นที่กำหนดให้มาเขียนเลียนแบบ หรือ เทียบเคียงกับเรื่องที่อ่านได้
    - Dictation เป็นการฝึกเขียนตามคำบอก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่วัดความรู้ ความสามารถของผู้เรียนในหลายๆด้าน เช่น การสะกดคำ ความเข้าใจด้านโครงสร้างประโยค ไวยากรณ์ รวมถึงความหมายของคำ ประโยค หรือ ข้อความที่เขียน
1.3 การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing ) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด ผู้เรียนมีอิสระเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด จินตนาการอย่างกว้างขวาง การเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเพียงหัวข้อเรื่อง หรือ สถานการณ์ แล้วให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามความคิดของตนเอง วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้เต็มที่ ข้อจำกัดของการเขียนลักษณะนี้ คือ ผู้เรียนมีข้อมูลที่เป็นคลังคำ โครงสร้างประโยค กระสวนไวยากรณ์เป็นองค์ความรู้อยู่ค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การเขียนอย่างอิสระนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

ดังนั้นเราสามารถฝึกการเขียนของเราเอง โดยการการอ่านซื่งเป็นการฝึก พัฒนา และลับคมความรู้ภาษาอังกฤษในระยะยาวได้เป็นอย่างดี คุณสามารถเลือกอ่านหนังสือภาษาอังกฤษได้มากมายตามใจชอบ สนใจเรื่องใดอ่านเรื่องนั้น เรื่องที่คุณสนใจจะเป็นแรงผลักดันให้อยากอ่านอยากศึกษา ส่วนข้อแนะนำในการอ่านหนังสือคือหลีกเลี่ยงหนังสือที่เป็นวิชาการมากเกินไป เพราะหนังสือเหล่านี้เป็นเนื้อหาหนัก เขียนโดยนักวิชาการ ด็อกเตอร์ และผู้มีความรู้สูง ซึ่งปัญหาของคนมีความรู้สูงมากเกินไปคือถ่ายทอดภาษาที่เข้าใจอยู่คนเดียว คุณควรเลือกอ่านหนังสือที่เขียนโดยคนทั่วไปทีอยากแชร์ประสบการณ์และความรู้ของตัวเอง คนทั่วไปเหล่านี้เขียนด้วยภาษาง่ายๆเหมือนผมและคุณ อ่านง่าย เข้าถึงง่าย ช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาได้เร็วเพราะไม่เครียดในความเป็นวิชาการอันซับซ้อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น