Dancing Rah Rah Smiley

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปในห้องเรียน (6th October,2015)

Noun Clauses

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่นิยมใช้กัน อย่างแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษากลางที่ใช้สื่อความหมายไปเกือบทั่วโลก ทั้งในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่จะเข้าถึงแหล่งวิทยาการต่างๆและค้นคว้าความ รู้ใหม่ๆ ซึ่งปัจจุบันมีคนทั่วโลกใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารถึงจำนวน 2,000 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประชากรของโลก ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมให้ประชากรไทยได้เรียนรู้ ภาษาอังกฤษในระดับที่จะสื่อสารได้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้และการ ประกอบอาชีพ ตลอดจนการเจรจาต่อรองสำหรับการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสังคมในเวทีสากลในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีความพยายามที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ด้วยการประกาศนโยบายให้นักเรียนเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่ 1 โดยกำหนดให้มีการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาเป็นต้นไป ในปี 2538 และได้ประกาศใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษ พ.ศ.2539 รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการเปิดโรงเรียนนานาชาติ และโรงเรียน English Program ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน
Noun Clauses ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นคำนามในประโยค ในชีวิตประจำวัน เราอาจได้ยินหรือใช้ noun clauses โดยไม่รู้ตัวว่ากำลังใช้ noun clauses อยู่เลย เช่น

1. Somsak thinks he had better stop smoking now.
ประโยคเต็มและเป็นทางการ คือ Somsak thinks (that) he had better stop smoking.
สมศักดิ์คิดว่าเขาควจะหยุดสูบบุหรี่แล้วตอนนี้
2. I don’t understand Nadej wants to convey.
ประโยคเต็มและเป็นทางการ คือI don’t understand (what) Nadej wants to convey.
ผมไม่เข้าใจในสิ่งที่ณเดชต้องการจะสื่อเลย
การใช้ Noun Clause อย่างถูกต้องถือเป็นเรื่องสำคัญมากโดยเฉพาะในส่วนของ Writing และ Speaking ของการสอบ IELTS เนื่องจาก Criteria หนึ่งของการให้คะแนนใน 2 ทักษะนี้ก็คือ grammatical range and accuracy โดยเฉพาะ Writing หากน้องๆอยากได้ Band Score 6.0 ขึ้นไปจะต้องสามารถใช้รูปแบบของ Complex sentence ได้บ้าง (with some errors) แต่หากต้องการไปถึง Band 7.0 ล่ะก็ ต้องลดข้อผิดพลาดในการใช้จนแทบไม่มีเลยค่ะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหากเราไม่ใช้ Noun Clause ในการสอบ Writing เลย จะทำให้ไม่ได้ Band 7.0 นะคะ เพราะจริงๆแล้ว Complex Sentence มีหลายประเภท ซึ่ง Noun Clause ถือเป็นหนึ่งในนั้นค่ะ ดังนั้น เรามาศึกษาวิธีใช้งานอย่างถูกต้องกันดีกว่า

Types of Noun Clauses
Subject NC มีตำแหน่งอยู่หน้าประโยคหรือหน้ากริยาทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค
Direct Object NC มีตำแหน่งอยู่หลังกริยา ทำหน้าที่เป็นกรรม
Object of Preposition NC มีตำแหน่งอยู่หลังบุรพบท ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุรพบท
Subject as Complement NC มีตำแหน่งอยู่หลัง to be ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายประธาน
1. Subject Noun Clauses
โดยปกติแล้ว คำนามหรืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคมักจะปรากฏอยู่หน้ากริยาหรือหน้าประโยค ตัวอย่างเช่น
What causes so many difficulties in the IELTS test is the writing section.
จากประโยคข้างต้น What causes so many difficulties in the IELTS test เป็น noun clause อยู่หน้าประโยค ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
2. Direct Object Noun Clauses
I suggest you that you should go to a movie with me tonight. ผมแนะนำว่าคุณควรจะไปดูหนังกับผมคืนนี้
จากประโยคข้างต้น that we should go to a movie tonight อยู่หลังกริยา suggest เป็นกรรมตรง (Direct object) ของ suggest ตามหลังกรรมรอง (Indirect object)
ข้อพึงระวัง ในการสอบ IELTS Speaking สามารถลดรูปโดยการละ “that” ออกได้
I believe students should not have to wear a uniform.
แต่สำหรับการสอบเขียนซึ่งควรใช้ภาษาอย่างเป็นทางการนั้น IELTS Examiner แนะนำว่าเราควรใส่ “that” ไว้ในประโยคด้วยค่ะ
I believe that students should not have to wear a uniform.
3. Object of the Preposition Noun Clauses
Yaya is always proud of where she was born. ญาญ่าภูมิใจในบ้านเกิดของตนเองเสมอ
จากประโยคข้างต้น where she was born เป็นคำนาม มีตำแหน่งอยู่หลังบุรพบท (Preposition) of ทำหน้าที่เป็นกรรมของ of
4. Subject as Complement Noun Clauses
The stability of life is what James ji wants the most in his life. ความมั่นคงในชีวิตคือสิ่งที่เจมส์ จิต้องการที่สุด
จากประโยคข้างต้น what James ji wants the most in his life มีตำแหน่งอยู่หลังกริยาช่วย (V.to be) is ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายหรือเป็นส่วนสมบูรณ์ของประธาน the stability of life เพื่อบ่งชี้หรือขยายความ the stability of life
ประเภทของ Noun Clause
Noun clauses เมื่ออยู่ในตำแหน่งของประธานจะเรียกว่า “Subject noun clauses” แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งของกรรม จะเรียกว่า “Object noun clauses” ทั้งนี้เมื่อแบ่งประเภทของ Noun Clause ที่เป็นกรรมจะแบ่งออกมาได้อีกหลายประเภท ลองมาทำความเข้าใจกันดูนะคะ
ประเภทของ Object Noun Clauses
Object Noun Clauses จะต้องอยู่คู่กับ Main Clause ของประโยคเสมอ โดยประโยคจะเริ่มด้วย Main Clause แล้วตามด้วย Object Noun clause โดยไม่ต้องมีเครื่องหมาย Comma คั่น Object noun clauses มี 3 ประเภท ได้แก่
Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “that”
Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย “Wh-Words” (หรือ Question Words)
Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “if” หรือ “whether”
1. การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “That”
เราใช้ Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า that ในกรณีต่อไปนี้
1.1ใช้ตามหลัง verbs บางตัวที่แสดงความรู้สึก ความคิด หรือ ความคิดเห็น เช่น agree, feel, know, remember, believe, forget, realize, think, doubt, hope, recognize, understand เช่น
Sompong knows all along that his mum loves him so much. สมปองรู้มาโดยตลอดว่าแม่รักเขามากๆ
1.2ถ้าเป็นภาษาพูด มักจะละคำว่า that ซึ่งเป็นคำขึ้นต้น clause เช่น
I think that it’s red, not green. (ภาษาทางการ) I think it’s red, not green. (ภาษาพูด)
1.3ส่วนใหญ่กริยา (verb) ที่ปรากฏอยู่ใน main clause มักจะเป็น Present Simple Tense ธรรมดาส่วนกริยา (Verb) ใน noun clause จะเป็น tense อะไรก็ได้ เช่น
I believe it’s raining. (now) , I believe it’ll rain. (very soon) , I believe it rained. (a moment ago)
1.4 ในการสนทนา ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงการพูดคำว่า that บ่อยเกินไป หรือไม่ต้องการพูด noun clause ซ้ำ สามารถตอบโดยใช้คำว่า so หรือ not หลัง main clauses ได้ เช่น
Sarut: Is Sangrawee here today?
Patraporn: I think so.
(คำพูดเต็มๆก็คือ I think that Sangrawee is here today.)
2.การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words
การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words (ได้แก่คำว่า what where when why how) มีหลักเกณฑ์ดังนี้
2.1 Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Indirect wh-questions และแม้ว่า noun clause เหล่านี้จะขึ้นต้นด้วยคำแสดงคำถาม แต่ลำดับคำ (word order) ในอนุประโยคนี้ จะเป็นลำดับคำของประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ลำดับคำของประโยคคำถาม
เช่น  I know why she comes home very late.(ไม่ใช่ why does she come home very late)
I don’t know when she will arrive. (ไม่ใช่ when will she arrive)
2.2 การใช้เครื่องหมายวรรคตอนของประโยคจะเป็นไปตามลักษณะของ main clause กล่าวคือ ถ้า main clause เป็นคำถามจะใช้เครื่องหมาย question mark ปิดประโยค ถ้า main clause เป็นบอกเล่า จะใช้เครื่องหมาย full stop ปิดประโยค
เช่น  Could you tell me where the elevators are? (Main clause เป็นคำถาม)
I’m wondering where the elevators are. (Main clause เป็นบอกเล่า)
2.3 ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words เพื่อแสดงให้คู่สนทนาทราบว่า เราไม่รู้ หรือเราไม่แน่ใจ
เช่น   I don’t know how much it costs.
I would like to know when our next meeting will be.
2.4 ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words เพื่อถามหาข้อมูลอย่างสุภาพ
เช่น   Could you tell me who are injured in the accident? ,  Can you tell me what time the show starts?
3. การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย If หรือ Whether
การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether มีหลักเกณฑ์ดังนี้
3.1 Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether คือ indirect yes/no questions นั่นเอง
เช่น   Direct Question: Did they pass the exam?
Indirect Question: I don’t know if they passed the exam. (ข้อความที่ขีดเส้นใต้คือ noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย if นั่นเอง)
3.2ลำดับคำในประโยค (word order) และเครื่องหมายจบประโยค ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words
3.3จะขึ้นต้น Noun Clauses ด้วยคำว่า if หรือ whether ก็ได้ แต่มักใช้ whether ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างเป็นทางการ
เช่น   Sir, I would like to know whether you prefer coffee or tea. , Tell me if you want to go with us or not.
3.4 ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อ main clause แสดงการใช้ความคิด หรือความคิดคำนึง
เช่น   I can’t remember if I had already paid him. , I wonder whether he will arrive in time.
3.5 ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อต้องการถามคำถามอย่างสุภาพ
เช่น   Do you know if the principal is in his office. , Can you tell me whether the tickets include drinks?
การละ that ในประโยค Noun Clause
That ที่นำหน้า noun clause ที่ทำหน้าที่บางหน้าที่ใน complex sentence สามารถจะละได้ในกรณีต่อไปนี้กรณีที่ noun clause เป็น object
We believe (that) he told the truth.
The police assured us (that) the children would be found safe and sound.
I wish (that) I would win the first prize.
กรณีที่ noun clause เป็น subject complement
The reason is (that) he speaks English fluently. , My opinion is (that) you’d better stay home.
ตามหลังคำคุณศัพท์  
I am sure (that) he can get a good job. , They are afraid (that) they cannot catch the 6 o’clock  train.
ข้อยกเว้น: แต่ก็มีบางกรณีที่เราไม่สามารถละ That ได้นะคะ อาทิ เช่น
เมื่อ that-clause ขึ้นต้นประโยค
That coffee grows in Brazil is true. ที่ว่ากาแฟปลูกในประเทศบราซิลนั้นเป็นความจริง
That she had decided to be engaged frightened me very much. ที่ว่าหล่อนได้ตัดสินใจที่จะรับหมั้นนั้นทำให้ผมตกใจมากๆ
เมื่อ that-clause เป็นคำซ้อนนามที่อยู่ข้างหน้ามัน (Appositive)
The news that he was murderer is not true. ข่าวว่าที่เขาเป็นฆาตกรนั้นไม่เป็นความจริงเลย
His belief that the earth moves round the sun is correct. ความเชื่อของเขาที่ว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์นั้นถูกต้อง
เมื่อ that-clause อยู่หลัง It is (หรือ It was)
It is true that earth moves round the sun.เป็นความจริงที่ว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์

It is impossible that he has done this by himself.เป็นไปไม่ได้ที่ว่าเขาได้ทำสิ่งนี้ด้วยตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น