Dancing Rah Rah Smiley

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กลยุทธ์ในการเรียนภาษา

                                                        กลยุทธ์ในการเรียนภาษา

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ทุกคนต้องเรียนรู้ในยุคนี้ มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นมีโรงเรียนสองภาษาและโรงเรียนสามภาษาโดยมีภาษาอังกฤษเป็นตัวร่วมอยู่ด้วยมากยิ่งขึ้นในการเรียนการสอนจะใช้โปรแกรมอินเตอร์โดยการใช้ภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นวิชาเรียนอื่นๆก็ยังมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษยิ่งเรียนภาษาอังกฤษมากเท่าไรผู้เรียนก็จะยิ่งเก่งภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น การเรียนภาษาแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นเพราะว่ามีการสอนความรู้และทักษะควบคู่ไปด้วยกัน ความรู้เป็นทฤษฎีและทักษะเป็นภาคปฏิบัติ แตกเนื่องจากนักเรียนสมัยนี้อ่อนภาษาอังกฤษเป็นอย่างมากโดยผู้คนส่วนใหญ่มักจะโทษครูผู้สอนว่าขาดความรู้ความชำนาญในการใช้ภาษา โทษเนื้อหาตำราแบบเรียนโทษสถานะศึกษาและการจัดการเรียนการสอน โทษนโยบายของรัฐบาล  สภาพแวดล้อมทางสังคมที่ไม่เอื้อต่อการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง ดังนั้นเราควรพัฒนากลยุทธ์ในการเรียน โดยกลยุทธ์นี้เป็นเรื่องพื้นๆที่ลักษณะกลางๆและเป็นแนวทางกว้างๆที่สามารถใช้ได้จริง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเริ่มต้นสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยตระหนักถึงเรื่องนี้ นั้นคือการศึกษาการฝึกฝน การสังเกต จดจำ เลียนแบบ ดัดแปลง ค้นคว้า ใช้งานและปรับปรุง

                การศึกษาภาษาอังกฤษนั้นควรเริ่มเรียนภาษาจากความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์คือการใช้ถ้อยคำแทนความในไวยากรณ์คือระเบียบกฎเกณฑ์ นอกจากนั้นยังมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษา อาทิเช่น ภาษาคืออะไร มีลักษณะอย่างไรบ้าง มีการเรียนภาษาได้อย่างไร และความรู้เกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมของสังคมชาติของเจ้าของภาษา เช่น สังคม วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ ศาสนาและศิลปะ เป็นความรู้ประกอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนภาษาเข้าใจภาษาได้อย่างแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น และปรับให้สามารถใช้ภาษาสื่อสารกับเจ้าของภาษาได้อย่างมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น การฝึกทักษะทางภาษา คือการฝึกพฤติกรรมการใช้ภาษาซ้ำจากข้อมูลความรู้ทางภาษาของผู้เรียนจนสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง หากผู้เรียนมีความรู้เนื้อหาที่ตนเองบกพร่อง ความบ่งพร่องนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการสื่อสารจนทำให้ผู้รับสารไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดได้ ดังนั้นการฝึกให้ได้ผลจึงควรฝึกผ่านอินทรีย์หลายทางควบคู่คือ ตาดู การอ่านตัวหนังสือและข้อความการ ดูภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ และสื่อมัลติมีเดียทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต รวมทั้งการสั่งเกตกิริยาและสีหน้าท่าทางในระหว่างการสนทนา หูฟัง คือ ฟังน้ำเสียงของผู้พูดในการสนทนา การฟังบรรยาย ฟังแถบบันทึกเสียง ฟังเสียงในฟิล์มของภาพยนตร์ของโทรทัศน์ วีดีทัศน์ และสื่อมัลติมีเดียทางคอมพิวเตอร์และสื่ออินเตอร์เน็ต รวมทั้งการสังเกตกิริยาและสีหน้าท่าทางในระหว่างการสนทนา การอ่านออกเสียง การที่ในที่ประชุม การนำเสนอด้วยวาจา การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย และปาฐกถา มือเขียน คือ ผู้เรียนภาษาต้องใส่ใจเรื่องระเบียบแบบแผนที่ถูกต้องในการเรียน คือตัวสะกด การแบ่งวรรคตอน การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่นๆ สมองต้องคิดตลอดเวลา คือ สมรรถนะทางด้านปัญญาในการคิดพิจารณา วิพาก วิจารณ์  สิ่งที่กำลังคิดอยู่ ใจต้องรัก คือสมรรถนะทางด้านจิต เริ่มจากฉันทะ คือใจต้องรักในสิ่งที่ศึกษาก่อน จากนั้น ควรมีความหมั่นเพียรในการเรียน และมีความใส่ใจในสิ่งที่ศึกษา ทั้ง6อย่างนี้คือ อินทรีย์6 ในการเรียนภาษา ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในตอนนี้มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ใช้ภาษาอังกฤษได้ไม่คล่องแคล้ว คือผู้เรียนส่วนใหญ่ยังฝึกภาษาน้อยเกินไปในทุกทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพูด และการเขียน ฉะนั้น เราควรเพิ่มทักษะการสังเกต การจดจำ และการเลียนแบบของเจ้าของภาษา ควบคู่ไปในการเรียนการสอนด้วย
                ภาษาอังกฤษมีเนื้อหาอยู่มากมาย มีบางเรื่องบางส่วนเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ซึ่งผู้ที่ไม่คุ้นจะรู้สึกว่าเข้าใจยาก บางเรื่องเป็นลักษณะเฉพาะของภาษาเอง ไม่อาจจะให้เหตุผลคาดคะเน หรือใช้ตรรกะหยั่งรู้เอาเองได้ ผู้เรียนภาษาที่ดีจึงต้องฝึกเป็นคนชั่งสังเกต มีความละเอียด ถี่ถ้วน รอบคอบในการเรียนและการใช้ภาษา ต้องสนใจเรื่องไวยากรณ์ เป็นโครงสร้างของวลี และประโยค การเรียงลำดับคำ การผันกิริยาตามTense คำศัพท์ เช่น ชนิดของคำ คำที่มีหลายความหมาย คำที่มักปรากฏร่วมกัน และภาษาสำเร็จรูป ได้แก่ โวหาร ซึ่งใช้สื่อความหมายในสถานการณ์ต่างๆ ตามความนิยมในการใช้ภาษา เช่นการทักทาย การกล่าวคำขอบคุณ  การกล่าวคำขอโทษ นอกจาการสังเกตแล้ว เราควรมีการจดจำ ความจำ เป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการเรียนรู้ทุกชนิด กิจกรรมบางอย่างอาศัยเพียงความจำตามครรลองปกติ คือการจำเองตามธรรมชาติ เนื่องจากการหมั่นฝึกฝน หรือการกระทำที่ซำซาก จนทำให้เกิดการจดจำได้เอง แต่การเรียนภาษาอังกฤษ ในการฝึกฝนตามครรลองธรรมชาติอาจจะไม่เพียงพอ แต่ต้องอาศัยการท่องจำทนอกจากการท่องจำแล้วต้องอาศัยการเลียนแบบตลอดทุกขั้นตอน คือเริ่มจากเด็กที่เรียนภาษา ย่อมต้องหัดพูดตาม หรือเลียนแบบภาษาของพ่อแม่ หรือบุคคลอื่นๆในครอบครัว เมื่อเข้าสู่วัยเรียน นักเรียนนักศึกษาก็จะเลียนแบบภาษาของครูอาจารย์ และเพื่อนร่วมชั้น และเมื่อเรียนสำเร็จแล้วออกมาประกอบอาชีพแล้ว คนในแต่ละสาขาอาชีพก็จะมีภาษาในแวดวงของตนเองที่จะเลียนแบบ และใช้ตามเพื่อที่จะสามารถสื่อสารกับเพื่อนร่วมอาชีพได้ ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างการเรียนการสอนภาษาแม่กับการเรียนภาษาอังกฤษ คือผู้เรียนภาษาไม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของเจ้าของภาษา จึงมีแหล่งข้อมูลความรู้ภาษาที่ถูกต้องมากกว่าและมีมากมายเพียงพอที่จะใช้เป็นแบบอย่างในการฝึกฝนตามได้นอกจากมีการเรียนแบบแล้วผู้เรียนยังมีการดัดแปลง ภาษา วิเคราะห์ ค้นคว้าและปรับปรุง ในการเรียนภาษาอังกฤษอีกด้วย
       เมื่อเราเลียนแบบเจ้าของภาษาแล้ว เราควรรู้จักการดัดแปลงภาษาให้เข้ากับวัตถุประสงค์ในการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ การรู้จักดัดแปลงย่อมต้องอาศัย ความรู้ เรื่องไวยากรณ์  ประกอบกับความรู้เรื่องคำศัพท์ และสำนวนโวหารต่างๆเป็นพื้นฐานสำคัญในพจนานุกรมภาษาอังกฤษส่วนสำคัญสำหรับผู้เรียนภาษา มีการให้ข้อมูลทางไวยากรณ์ในรูปองโครงแบบกริยา (verb pattern)  หรือโดยใช้รหัสไวยากรณ์ grammar code เช่น
-believe [+ that] I believe that all childen are born with egnal intelligence
-believe [+ object + to infinitive ] I believe her to be the finest violinist in the world
-believe [ + object + adjective ] all the crew missing,believe dead
ข้อมูลลักษณะนี้จะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใช้ภาษาสามารถดัดแปลงถ้อยคำและโครงสร้างที่ปรากฏในประโยคตัวอย่างได้สะดวกยิ่งขึ้นการเรียนภาษาในระดับเบื้องต้นจำเป็นต้องอาศัยการเลียนแบบอยู่มากแต่เมื่อเรียนในระดับสูงขึ้น ก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์เข้ามาเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการอ่าน การเขียน และการแปลงภาษาวิชาการและภาษาวิชาชีพซึ่งต้องมีความซับซ้อนยิ่งกว่าภาษาทั่วไปมีการวิเคราะห์ไป 3 ระดับใหญ่ๆคือ ระดับคำศัพท์ คือการวิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำศัพท์และสำนวน ระดับไวยากรณ์ คือการวิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของวลีและประโยคระดับของระดับถ้อยความ คือวิเคราะห์โครงสร้างความหมายระหว่างประโยคตลอดจนโครงสร้างและความหมายโดยรวมที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการสื่อ ความรู้ที่มีอยู่ในตำรา แบบเรียน หรือสื่อการเรียนอื่นๆยังมีไม่เพียงพอ ผู้เรียนจำต้องค้นคว้าเพิ่มเติม จากแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพจนานุกรมภาษาอังกฤษล้วนสำคัญสำหรับผู้เรียน ซึ้งให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์สารพัดด้านไว้อย่างครบ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเรายังอ่อนเรื่องการค้นคว้าอยู่มากครูผู้สอนภาษาอังกฤษบางส่วน นอกจากไม่แนะนำส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้พจนานุกรมแล้ว แล้วบางครั้งยังไม่สนับสนุนให้ใช้และถึงกับห้ามให้ใช้ข้อมูล แต่จะสอนให้รู้จักเดาความหมายจากรูปศัพท์ จากบริบท แต่การพร่ำสอนให้ผู้เรียนอาศัยแต่การเดาไม่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติมจนผู้เรียนคล้อยตามด้วยหลงเชื่อแล้วก็เป็นอันตรายอย่างมาก ยิ่งต้องเรียนและใช้ภาษาอังกฤษในระดับสูงขึ้น ก็มาพบว่าความรู้ต่างๆที่เรียนมานั้นพร่ามัวทำให้เกิดความมั่นใจในการใช้ภาษา การที่คนไทยออกเสียงคำภาษาอังกฤษไม่ถูกต้องมักมีสาเหตุจากการวิธีการเดาจากตัวสะกดที่ครูให้เป็นตัวอย่างและฝึกออกเสียงตามครูโดยขาดความรู้พื้นฐานเรื่องระบบเสียงในภาษาอังกฤษ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวสะกดกับวิธีออกเสียงตามหลักวิชาที่ถูกต้อง อีกทั้งไม่ได้รับการปลูกฝังนิสัยในการค้นคว้าตรวจสอบให้รู้ชัดเมื่อสภาพสังคมส่วนใหญ่เป็นเช่นนี้ ผู้เรียนเองจำต้องตื่นตัวเองและเพิ่งตนเองให้มากขึ้น อย่างน้อยๆต้องเรียนรู้วิธีใช้สัทอักษรประกอบกับการฟังวิธีออกเสียงจริงโดยเจ้าของภาษาจากแผ่นซีดีที่มาพร้อมกับพจนานุกรมภาษาอังกฤษ เมื่อเราได้เรียนรู้ภาษาไปบางเองแล้วก็สมควรจะใช้งานจริงในภาคสนามด้วย เพื่อทดสอบและตรวจสอบดูว่าความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้มานั้นเพียงพอมากหรือไม่ การมีโอกาสไปใช้ชีวิตต่างประเทศทำให้ได้ใช้ภาษาในสภาพจริงได้อย่างเต็มที่ ได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาเป็นปัจจัยที่เสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาได้อย่างดียิ่ง และทำให้ได้ตระหนักถึงจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง เนื่องจากได้เรียนรู้ของจริง ในการฝึกฝนในการใช้ภาษาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้ภาษาในชีวิตจริงผู้เรียนภาษาที่ดีต้องช่างสังเกตและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดเช่นศัพท์สำนวน ไวยากรณ์ วิธีออกเสียงหรือในด้านอื่นๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขด้วยการศึกษาฝึกฝน วิเคราะห์ ค้นคว้า และหาโอกาสไปทดสอบใหม่เพื่อวัดความก้าวหน้าหรือพัฒนาการการใช้ภาษาในด้านนั้นๆ

                ฉะนั้นผู้เรียนภาษาอังกฤษจึงควรปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนใหม่แทนที่จะมองเห็นแต่ข้อเสียจงทำให้เกิดความท้อแท้ผู้เรียนจำเป็นต้องพัฒนาตนเองโดยการพึ่งตนเองให้มากขึ้น โดยการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย รู้จักจัดเตรียมและแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเรียนและลงมือปฎิบัติ โดยองค์ประกอบทั้งสิบของกลยุทธ์ในการเรียนภาษานี้มีความเกี่ยวเนื่องและสนับสนุนซึ้งกันและกัน จำเป็นต้องนำมาใช้บ่อยๆ ใช้อย่างสม่ำเสมอ และยังต้องใช้อย่างต่อเนื่องตลอดไปจนเกิดผล ความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาเป็นสิ่งที่ต้องเพาะบ่มสั่งสมเป็นเวลานาน มิใช่จะได้มาโดยเพียงผ่านการเรียนกวดวิชาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น