Dancing Rah Rah Smiley

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สรุปนอกห้องเรียน (21st September , 2015)

                                                       สรุปนอกห้องเรียน


ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เหมาะสมอย่างมากในการเรียน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางธุรกิจ การท่องเที่ยวหรือเหตุผลส่วนตัวอื่น ๆ แต่การเรียนภาษานั้น ไม่ว่าจะภาษาใดก็ตาม ก็ต้องใช้ความขยัน ความตั้งใจและไม่อายที่จะพูดหรือเขียนแม้ว่าอาจจะผิด ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความรู้ในแขนงต่างๆ ทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและเข้าใจวิสัยทัศน์ของชาติอื่นๆในฐานะภาษาสำคัญของโลก ภาษาอังกฤษปัจจุบันคือภาษานานาชาติ เป็นภาษากลางของโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของมนุษยชาติ เป็นภาษาที่มนุษย์บนโลกใช้ติดต่อระหว่างกันเป็นหลัก ไม่ว่าแต่ละคนจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาประจำชาติ เมื่อต้องติดต่อกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมกันทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ทุกชาติทุกภาษาจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษาประจำชาติ เป็นแกนหลักของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิต

เคล็ดลับฝึกพูดอังกฤษ คือหยุดคิดว่าทำไม่ได้ ขั้นแรกของการฝึก พูดภาษาอังกฤษ คือการปรับเปลี่ยนความคิดเสียก่อนครับ หลายคนอาจมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับการ พูดภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นพูดแล้วผู้ฟังไม่เข้าใจ พูดแล้วติดขัด หรืออื่นๆก็แล้วแต่ ขอให้คุณทิ้งความคิดว่าคุณไม่สามารถทำได้ไปก่อนเลย แล้วตั้งใจเริ่มต้นที่จะฝึก พูดภาษาอังกฤษ ใหม่ดูครับแล้วจะรู้ว่าการ พูดภาษาอังกฤษ เก่งไม่ยากอย่างที่คิด จะพูดให้เก่งต้องเริ่มจากการฟัง เพราะนั่นจะทำให้เราคุ้นเคยกับภาษา คุ้นเคยกับจังหวะการออกเสียงและคำศัพท์ต่างๆก่อน โดยอาจเริ่มต้นจากการฟังสถานการณ์สั้นๆ เมื่อเข้าใจแล้วก็ลองฟังข่าวภาษาอังกฤษ ดูหนังเป็นภาษาอังกฤษต่อไป ในขณะที่ฟังก็อย่าลืมสังเกตการออกเสียงคำศัพท์ต่างๆทั้งการเน้น(stress) เสียงสูงต่ำ(intonation)หรือจังหวะการพูด(rhythm) สังเกตสถานการณ์ที่ใช้ศัพท์ต่างๆเพื่อที่จะรู้ว่าศัพท์แต่ละคำมีการเลือกใช้ในสถานการณ์ต่างๆอย่างไร เช่นศัพท์บางคำอาจไม่ควรใช้เมื่อต้องการความ formal หรือศัพท์บางคำไม่ควรใช้ถ้าพูดกับผู้อาวุโส เป็นต้น อย่ากังวลเรื่องสำเนียง และไวยากรณ์มากเกินไปอย่ากังวลเรื่องต่างๆเหล่านี้เมื่อ สนทนาภาษาอังกฤษ เพราะสำเนียงนั้นมีความแตกต่างกันได้อยู่แล้วในแต่ละชาติ แม้แต่ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักแต่ละประเทศก็ยังมีสำเนียงที่ไม่เหมือนกันเลย ดังนั้นอย่ายึดติดกับสำเนียงจนกลัวการ พูดภาษาอังกฤษละ นอกจากสำเนียงแล้ว ไวยากรณ์ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรกังวลมากไปเมื่อต้อง สนทนาภาษาอังกฤษ เพราะผู้ฟังแม้ว่าจะเป็นชาวต่างชาติ บางครั้งก็ไม่ได้ตั้งใจจับผิดไวยากรณ์หรอกครับ สิ่งที่ผู้ฟังนั้นฟังคือความหมายต่างหาก ตราบใดที่คุณพูดแล้วสามารถสื่อความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้ แม้ว่าจะไม่ถูกหลักไวยากรณ์ 100% ก็ไม่ต้องกังวลหรอกครับ ดังนั้นฝึกพูดบ่อยๆ เดี๋ยวไวยากรณ์ที่ถูกต้องจะตามมาเอง คิดเป็นภาษาอังกฤษ อย่าแปลเป็นไทย  อยากพูดภาษาอังกฤษ เก่งๆต้องฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษ ทุกๆครั้งที่จะพูดเรื่องอะไรก็แล้วแต่ ให้คิดคำพูดเป็นภาษาอังกฤษเลยโดยที่ไม่ต้องคิดเป็นภาษาไทยแล้วแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วจึงพูด เพราะ ปัจจุบันนี้ ภาษาอังกฤษ เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นการที่เราสามารถสื่อสารภาษาอักฤษได้ ย่อมทำให้ได้เปรียบคนอื่นๆ วันนี้เราจึงมีข้อมูลมาแนะนำกับ 10 วิธีการฝึกภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะยากเกินไปสำหรับใครไม่รู้จะฝึก เรียนภาษาอังกฤษ อย่างไร ให้เข้าใจ
1. ตามอ่านอะไรที่เราสนใจตอนเด็กๆหลายคนอาจจะไม่ชอบภาษาอังกฤษ เพราะโดนครูบังคับให้อ่านเรื่องอะไรก็ไม่รู้ แต่ลองเริ่มอ่านเรื่องที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน กีฬา ดนตรี ข่าวซุบซิบดาราฝรั่ง หรือมุมขำๆในหนังสือพิมพ์ จำไว้เลยว่าไม่มีอะไรไร้สาระ เพราะเรากำลังเรียนรู้อยู่
2. ฟังวิทยุให้ชินการฟังวิทยุนั้นจะช่วยให้เราได้ฟังทั้งเสียงคนพูด รวมถึงเสียงร้องเพลง เป็นการฝึกหูในชินกับภาษาในหลายๆรูปแบบอีกวิธีหนึ่งด้วย
3. ไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทยการฝึกภาษาอังกฤษให้เข้าใจนั้น ไม่จำเป็นที่เราต้องอ่านหรือฟังแล้วแปลเป็นภาษาไทย อาจจะสงสัยว่าไม่แปลเป็นไทยแล้วจะเข้าใจยังไง การไม่พยายามแปลเป็นไทยจะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วขึ้นด้วย
4. แปะกระดาษโน้ตบนสิ่งของต่างๆวิธีนี้จะเหมือนการเอาข้าศึกมาล้อมเมือง การแปะชื่อสิ่งของต่างๆที่เราใช้เป็นภาษาอังกฤษ ช่วยทำให้ชีวิตได้คุ้นเคยกับคำเหล่านี้มากขึ้น และเป็นการฝึกอ่านฝึกความเข้าใจไปในตัวด้วย
5. ดูทีวีและภาพยนตร์ภาษาอังกฤษการดูภาพ ฟังเสียง และอ่านซับไตเติ้ลภาษาไทยไปพร้อมๆกัน ช่วยฝึกประสาทการรับรู้ในหลายๆช่องทาง ซึ่งต่อไปก็สามารถเปลี่ยนจากซับไทย เป็นซับอังกฤษ ไปจนถึงขั้นปิดซับได้ในท้ายที่สุด
6. เล่นเกมที่ใช้คำภาษาอังกฤษบ่อยๆสมัยนี้มีเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟน เราจึงสามารถหาแอพพลิเคชั่นเกมภาษาอังกฤษ เช่น Crosswords มาเล่นแก้เบื่อในยามว่างได้ ทีนี้ก็ลองเปลี่ยนจากแชทไลน์มาเป็นเล่นเกมแนวนี้แทน จะช่วยพัฒนาได้อีกทาง
7. ใช้คำต่างๆเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้นวิธีนี้หลายคนอาจจะมองดูว่ากระแดะหรือเปล่า? จริงๆแล้วเป็นเพียงการใช้คำให้ถูกกับภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยพยายามพูดอังกฤษบ่อยๆในศัพท์ที่ใช้ได้ เช่นเปลี่ยนคำว่ามือถือ เป็น Smart Phone เปลี่ยนคำว่า นาฬิกาปลุก เป็น Alarm เป็นต้น
8. ทำลิสต์ต่างๆให้เป็นภาษาอังกฤษขั้นตอนนี้อาจจะลำบากในตอนแรก แต่ถ้าเราลองลิสต์ต่างๆให้เป็นอังกฤษจะช่วยเราให้คุ้นเคยได้มากขึ้น อย่างเช่น ลิสต์กิจกรรมที่ต้องทำพรุ่งนี้ ลิสต์ตารางไปเที่ยวพักผ่อน หรือลิสต์ของที่ต้องซื้อเข้าบ้าน ให้เป็นภาษาอังกฤษ
9. ลงทุนซื้อ Dictionary ดีๆสักเล่มนี่คือการลงทุนที่คุ้มค่า แม้จะมีราคาค่อนข้างแพงไปบ้าง แต่ก็ช่วยให้เราสามารถเข้าใจและพัฒนาภาษาไปได้ดีกว่า (สำหรับคนทุนน้อยจริงๆ ข้อนี้อาจจะข้ามไปได้บ้าง)
10. เราชอบอะไร ทำสิ่งนั้นเป็นภาษาอังกฤษความชอบ ความรัก มันทำให้เราสามารถทำอะไรก็ได้อย่างมีความสุขและไม่น่าเบื่อ ถ้าชอบทำอาหาร ก็เปลี่ยนเมนูอาหารเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าชอบเล่นกีฬาหรือดนตรี ก็ดาวน์โหลดวิดีโอการฝึกซ้อมแบบภาษาอังกฤษมาดู ถ้าชอบเล่นเกมก็ฝึกอ่านคู่มือเกมภาษาอังกฤษ เราก็จะหลงรักมันโดยไม่รู้ตัว
เทคนิคการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. จำศัพท์เป็นกลุ่ม: วิธีที่จะจำศัพท์ได้ง่าย คุณควรจะต้องจำเป็นกลุ่มคำที่มีความหมายเหมือนกัน และกลุ่มคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกัน
2. จำศัพท์และวาดภาพคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกัน: ถ้าคุณสามารถวาดภาพของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกัน ออกมาเป็นแผนผังหรือจัดหมวดหมู่ ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างศัพท์เหล่านั้น แล้วเขียนออกมาเป็นแผนผัง จะทำให้คุณจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น
3. ใช้อุปกรณ์ช่วย : คุณอาจทำบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ พร้อมความหมาย และตัวอย่างประโยค แล้วนำมาเปิดอ่านหรือท่องในยามว่าง และเพิ่มคำศัพท์เหล่านั้นทุกสัปดาห์ คุณก็จะมีสต๊อคคำศัพท์ที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที
4. สร้างจุดเด่นของลักษณะคำศัพท์กลุ่มนั้น : เช่น เมื่อกำหนดกลุ่มคำศัพท์ได้แล้วว่ากลุ่มที่หนึ่งคือกลุ่มคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน คุณก็กำหนดให้กลุ่มนั้นเป็นสีฟ้า (คำศัพท์เหล่านั้นก็จะใช้ปากกาเน้นข้อความสีฟ้า เน้นทับไปที่กลุ่มคำเหล่านั้น), กลุ่มที่สองคือกลุ่มคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องอวัยวะหรือส่วนต่างๆในร่างกาย คุณก็กำหนดให้กลุ่มนั้นมีสีเหลือง (คำศัพท์เหล่านั้นก็จะใช้ปากกาเน้นข้อความสีเหลือง เน้นทับไปที่กลุ่มคำเหล่านั้น) เป็นต้น ซึ่งสีที่แตกต่างกัน จะทำให้จำคำศัพท์เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น
5. ตั้งเป้าหมายอย่างง่ายๆแต่ทำอย่างสม่ำเสมอ : คือการตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเปิดคำศัพท์เหล่านั้นทบทวนสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และตั้งเป้าว่าจะเพิ่มคำศัพท์ 15-20 คำศัพท์ต่อสัปดาห์ อย่างสม่ำเสมอ
ข้อสำคัญคือ ต้องจำคำศัพท์พร้อมกับประโยคที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น คำศัพท์เดิมต้องรักษาไว้ อย่าให้ลืม และต้องเพิ่มคำศัพท์ให้ได้อย่างสม่ำเสมอ ลองดูนะคะ แล้วคุณจะพบว่าคุณสามารถพัฒนาการจำคำศัพท์ได้เพิ่มขึ้น และแม่นยำขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น