Dancing Rah Rah Smiley

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ

สรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการ
ระหว่างวันที่ 29 -30  เดือนตุลาคม พ.. 2558

เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะวันพฤหัสบดี ที่29 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2558
เรื่อง Beyond Language Learning
ในช่วงเช้าเป็นการเสวนาวิชาการวิจัย โดย ดร.สุจินต์  หนูแก้ว อาจารย์สุนทร บุญแก้ว และ ผศ.ดร. ประกาศิต สิทธิ์ธิติกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยทั้ง3ท่าน จะพูดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ความสามารถในการสื่อสาร การรู้เท่าทันสื่อ ค่าวัฒนธรรม การทำงานร่วมกัน ร่วมมือกัน การฝึกเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การมีจิตสาธารณะในกลุ่ม มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนๆในกลุ่ม ความสามารถทางเทคโนโลยีในการสื่อสาร
ขั้นต่ำของมนุษย์
1.    ความรู้ ความจำ ซึ่งมนุษย์ทุกคนล้วนมีความรู้ ความจำ ที่ไม่เหมือนกัน บางคนมีความจำระยะนาน เป็นความทรงจำถาวร ซึ่งจะสามารถจำได้ตลอด แม้ว่าจะอยู่ที่ไหน ทำอะไร หรือจะจำได้อีกครั้งเมื่อกระทำเหตุการณ์นั้นซ้ำอีกครั้ง ความทรงจำเก่าๆก็จะกลับมา
2.    ความเข้าใจ  คือการเข้าใจในสิ่งที่ตนเองได้รับรู้ ได้เรียนรู้ เข้าใจและสามารถสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างเข้าใจ มีความรู้ ความเข้าใจเป็นอย่างดี
3.    ความสามารถในการนำไปใช้ คือเมื่อเราได้รับความเข้าใจในสิ่งนั้นๆเป็นอย่างดีแล้ว เราก็จะสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ได้จริงๆ
4.    ความสามารถในการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ ซึ่งเราจะสามารถวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูล นั้นๆ ได้เป็นอย่าวดี และสามารถสังเคราะห์สิ่งนั้นๆ ออกมาได้
5.    การประเมินค่า คือความสามารถในการประเมินค่าได้ว่าสิ่งที่เราได้ทำลงไปนั้นมีประโยชน์ มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด



ในช่วงสาย จะเป็นการอบรมเรื่อง การเรียนการสอนในศตวรรษที่21 และกลวิธีการสอนภาษาในปัจจุบัน
“แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษา”
1.       วิธีการสอนแบบไวยากรณ์และแปล (The Grammar – Translation Method)
เป็นการสอนโดยคุณครูผู้สอน จะไม่เน้นสอนการฟังและการพูด แต่จะเน้นการเรียนการสอนไวยากรณ์การและการแปล เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านตำราและวรรณคดีภาษากรีกและภาษาละตินได้ ครูผู้สอนจะใช้การสอนแบบนี้ ในการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ โดยจะมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะให้ผู้เรียนสามารถอ่านบทที่ตนเองอ่านได้อย่างเข้าใจ และเห็นคุณค่าของคำประพันธ์ภาษาต่างประเทศ โดยจะเน้นการท่องจำ และความถูกต้องในการใช้ภาษา
2.       วิธีสอนแบบตรง (The Direct Method)
ครูผู้สอนให้นักเรียนสามารถสื่อสารด้วยภาษาที่เรียน และเพื่อนให้ประมวลผลสำเร็จ โดยจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการที่จะคิดเป็นภาษาที่เรียน การเรียนการสอนครูจึงใช้ภาษาต่างประเทศในขณะที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และจะสื่อสารเหมือนกับว่าอยู่ในสถานการณ์นั้นจริงๆ โดยจะมีจุดประสงค์ เพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ เริ่มจากการสอนระบบเสียง ให้ผู้เรียนฝึกเลียนแบบเสียงและแยกเสียงให้ถูกต้อง แล้วจึงให้ผู้เรียนฝึกฟังความหมายในประโยค เช่น ประโยคคำถาม คำตอบ บทสนทนาสั้นๆ
3.       วิธีการสอนแบบฟัง พูด (The Audio- Lingual Method)
ครูผู้สอนจะเริ่มจากการสอนฟัง การพูด ซึ่งเป็นพื้นฐานไปสู่การอ่านและการเขียน ภาษาที่จะนำมาสอน จึงควรเป็นภาษาที่เจ้าของภาษาใช้พูดกันในชีวิตประจำวัน มีการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เริ่มต้นด้วยการพูด โดยครูจะสอนโดยที่ยังไม่ให้เห็นรูปแบบของภาษา ผู้เรียนจะต้องเลียนแบบเสียงของผู้สอน จนผู้เรียนสามารถฟังเข้าใจ เน้นการท่องจำบทสนทนา แล้วหลังจากนั้นจึงเริ่มการฝึกการอ่านและการเขียน


ในช่วงบ่าย จะอบรมเรื่อง แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการปฏิสัมพันธ์
4.       วิธีการสอนแบบชักชวน (Suggestopedia)
ครูผู้สอนจะโน้มน้าวให้ผู้เรียนได้ใช้พลังสมองของตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยจะทำให้นักเรียนมีความรู้สึกผ่อนคลายที่สุด ให้มีความสบายใจ ไม่วิตกกังวล และข้อห้ามต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนภาษา ครูจะให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยความสนุกสนาน ผ่อนคลายทางจิต กิจกรรมทางภาษาที่เน้นการสื่อสาร เน้นสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงในการใช้ภาษา เช่น การแสดงละคร การฟังบทสนทนาโดยมีดนตรีบรรเลงเบาๆประกอบไปด้วย
5.       วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง
ครูจะให้นักเรียนได้ฝึกฝนการพัฒนาภาษาบ่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนจะเกิดการสะสมประสบการณ์ต่างๆ และสามารถระลึกถ่ายทอดออกมาได้ การจำเกิดจากการฝึกท่องจำหรือการแสดงท่าทาง มุ่งพัฒนาความเข้าใจในการฟัง ครูจะแสดงท่าทางใช้เป็นคำสั่งเป็นหลักในการสอน
6.       วิธีสอนแบบเงียบ (The Silent way)
ครูผู้สอนจะเน้นความรู้ความเข้าใจ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจะให้ผู้เรียนได้คิดเอง ครูจะพูดน้อยที่สุด และจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดมากๆ ครูจะเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด ความเข้าใจที่จะค้นพบ กฎเกณฑ์ทางภาษาด้วยตนเอง และจากเพื่อนๆมากกว่าการจำ
7.       วิธีการสอนตามแนวธรรมชาติ (The Natural Approach)
เป็นการรับรู้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยที่ไม่มีใครสอน พัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสารกับเจ้าจองภาษาโดยที่ยังคงให้ความสำคัญของความถูกต้องในการใช้ไวยากรณ์  โดยใช้วิธีตรวจแก้ไขไปเรื่อยๆ และในระยะยาวผู้เรียนจะสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ตามหลักไวยากรณ์
8.       การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Copperative Learning)
ครูจะแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน  เพื่อให้ผู้เรียนและสมาชิกทุกคนในกลุ่มได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะเป็นประชาธิปไตย เช่น คิดและคุยกัน กิจกรรมโต๊ะกลม
9.       การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task – Based Learning)
ครูจะจัดการเรียนการสอนที่ให้ภาระงาน เป็นหลัก โดยจะให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน โดยภาระงานที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในการปฏิวัติภาระงานนั้นให้สำเร็จ ต้องวิเคราะห์ จัดประเภท จัดลำดับ และพิจารณาความยากง่าย เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน เป็นภาระงานที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมาย
10.   การเรียนรู้จาการทำโครงงาน (Project – Based Learning)
ผู้เรียนจะต้องร่วมกันทำงานเกี่ยวกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง โดยผู้เรียนจะต้องศึกษาแล้ว ดำเนินการศึกษาค้นคว้าภายใน เวลาที่ตกลงกันไว้จนได้ผลตามจุดประสงค์ที่กำหนด โครงงานเป็นวิธีการสอนให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ขึ้นเอง เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การทำโครงงานต้องเริ่มต้นจากผู้เรียนเป็นผู้คิด ลงมือปฏิบัติหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยจะมีครูคอยแนะนำช่วยเหลือ กระตุ้น เช่นการจัดนิทรรศการ

วันศุกร์ ที่30 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2558
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นความเหมาะสมในการใช้ภาษา
เป็นการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งจะมุ่งเน้น ความสำคัญของผู้เรียน จัดลำดับการเรียนรู้ เป็นขั้นตอนกระบวนการใช้ ความคิดของผู้เรียน โดยเริ่มจากการฟัง ไปสู่การพูด การอ่าน การจับใจความสำคัญ ทำความเข้าใจ จดจำ และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้การสอนภาษาว่าควรนำเสนอภาษาใหม่ ในรูปแบบภาษาที่พบในสถานการณ์จริง เพื่อนำไปสู่การสอนคำศัพท์ ไวยากรณ์ การออกเสียง มีการฝึกฝนจนเกิด ความเข้าใจเนื้อหาไวยากรณ์ สามารถใช้ได้ถูกต้อง แล้วจำนำความรู้ที่ได้ไปฝึกใช้ในสถานการณ์จริง
แนวการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการเนื้อหา และภาษา
การสอนภาษาที่นำเนื้อหาวิชาต่างๆ มาบูรณาการกับจุดหมายของการสอนภาษา กล่าวคือ ผู้เรียนใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และในขนาดเดียวกันก็พัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารไปด้วย ดังนั้นการคัดเลือกเนื้อหาที่นำมาให้ผู้เรียนได้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเนื้อหาที่คัดเลือกมาจะต้องเอื้อต่อการบูรณาการสอน ภาษาทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การอ่าน  การพูด การเขียน  นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ สามารถตีความ ประมวลข้อมูลของเรื่อง และพัฒนาการเขียนเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆได้ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาในลักษณะองค์รวม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น